สิบสองนักษัตร
นครศรีธรรมราชสมัยเจ้าพระยานครน้อยเกิดเกิดกบฏและสงคครามหลายครั้งต้องใช้กำลังเข้าปราบปรามจนราบคาบจนกลายเป้็นวีรกรรม
ผู้เข้าชมรวม
898
ผู้เข้าชมเดือนนี้
3
ผู้เข้าชมรวม
ข้อมูลเบื้องต้น
คุณแน่ใจว่าต้องการคืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด ?
บทนำ
กรุงรัตนโกสินทร์รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ปีพ.ศ. 2354 ณ พระชาลาพลับพลาน้อยริมท้องพระโรง พระยาเทพวรชุนกราบทูลถวายตราตั้งพระบริรักษ์ภูเบศร์ เป็นพระยานครศรีธรรมราชโดยมีหมื่นเทพเสนีอ่านทูลถวายต่อหน้าพระพักตร์
สารตรา ท่านเจ้าพระยาอัครมหาเสนาบดีอภัยพิริยะปรากรมพาหุ สมุหกลาโหม ให้มาแก่หลวงเทพเสนาผู้ว่าที่จ่าขุนศรีสนม ผู้ว่าที่เทพเสนาและกรมการ
ด้วยเจ้าพระยานครเข้าเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท แจ้งข้อราชการ ณ กรุงให้กราบทูลพระกรุณาว่า เจ้าพระยานคร แก่ชรา หูหนัก จักขุมืด หลงลืม จะทำราชการสนองพระเดชพระคุณสืบไปมิได้ จะขอพระราชทานกราบถวายบังคมลาออกจากราชการ จึงทรงพระกรุณาตรัสเหนือเกล้าฯสั่งว่า ฝ่ายปักษ์ใต้เมืองนครเป็นเมืองเอกใหญ่กว่าหัวเมืองทั้งปวง และเป็นที่พำนักอาศัยแก่เมืองแขก และลูกค้าวาณิชนานาประเทศไปค้าขายมิได้ขาด เจ้าพระยานครสูงอายุว่าหลงลืมจะทำราชการสืบไปมิได้ ก็ให้เจ้าพระยานครเลื่อนขึ้นเป็นเจ้าพระยาสุธรรมมนตรีศรีโศกราชวงศ์ เชษฐพงศ์ฤาไชยอนุไทยธิบดี อภัยพิริยะปรากรมพาหุ และพระบริรักษ์ภูเบศร์นั้นเป็นผู้ช่วยราชการในเจ้าพระยานครช้านาน รู้ขนบธรรมเนียมสัตย์ซื่อมั่นคง แล้วก็ได้คุมกองทัพไปต่อเรือรบไล่ยกไปตีอ้ายพม่า ณ เมืองถลางจนเสร็จราชการ จับได้อ้ายพม่าและปืนส่งเข้าไปเป็นอันมาก พระบริรักษ์ภูเบศร์มีความชอบสมควรที่จะชุบเลี้ยงให้ออกไปรั้งเมือง ครองเมืองสำเร็จกิจสุขทุกข์ของอาณาประชาราษฎรต่างพระเนตรพระกรรณได้ ให้เอาพระบริรักษ์ผู้ช่วยราชการ เป็นพระยานครศรีธรรมราช ออกมาว่าราชการรักษาบ้านเมือง สำเร็จกิจสุขทุกข์ของอาณาประชาราษฎร ณ เมืองนครสืบไป จึงตั้งพระบริรักษ์ภูเบศร์ผู้ช่วยราชการ เป็นพระยาศรีธรรมาโศกราชชาติเดโชไชยมไหสุริยาธิบดี อภัยพิริยะปรากรมพาหุ พระยานครศรีธรรมราช ออกว่าราชการรักษาบ้านเมืองสำเร็จกิจสุขทุกข์ของราษฎร ด้วยกรมการเมืองนครตามพระราชกำหนดกฎหมาย พิกัดอัตราอย่างธรรมเนียมสืบมาแต่ก่อน และให้กรมการฟังบังคับบัญชา พระยานครศรีธรรมราชคนใหม่ แต่ซึ่งชอบด้วยราชการ อย่าให้ถือเปรียบแก่งแย่งเสียราชการไปต่อสิ่งใดสิ่งหนึ่งได้ และให้พระยานครมีน้ำใจ โอบอ้อมเมตตากรุณาแก่สมณะ ชีพราหมณ์ ไพร่บ้านพลเมือง ลูกค้าวาณิชให้อยู่เย็นเป็นสุข จะกะเกณฑ์ใช้ราชการสิ่งใดทั่วหน้าเสมอกัน จะพิพากษาตัดสินคดี ถ้อยความกินสุขทุกข์ของราษฎรประการใด ให้เป็นยุติธรรม อย่าให้เห็นแก่อามิสสินจ้างสินบน ลำเอียงเข้าด้วยโจทก์ ฝ่ายจำเลยกลับเท็จเป็นจริง กลับจริงเป็นเท็จ กลบเกลื่อนข้อความให้ฟั่นเฟือน ให้ผู้มีชื่อได้ความยากแค้นเดือดร้อน แต่สิ่งใดสิ่งหนึ่งได้ อนึ่งพระราชกำหนดกฎหมาย และพระอัยการข้อใด กระทงใด เคลือบแฝงแคลงอยู่ จะเอาไว้พิจารณามิได้ก็ให้ส่งเข้ามา ณ กรุง แล้วให้แต่งเสมียนทนายเข้าไปจำลองคัดเอาพระราชกำหนดกฎหมาย พระอัยการ ซึ่งชำระ ณ กรุง ออกมาไว้พิจารณาว่ากล่าวตัดสินคดี ถ้อยความของราษฎรสืบไป
อนึ่งเรือรบ เรือไล่ ค่ายคู ประตูเมือง พ่วงรอ หอรบ ศาลากลาง จวน ทำเนียบ คุกตะราง สำหรับใส่ผู้ร้าย โรงปืนใหญ่น้อยสำหรับเมือง สิ่งใดไม่มีแลชำรุดปรักหักพังอยู่ ก็ให้พระยานครว่ากล่าวตักเตือนกรมการ เจ้าพนักงาน ให้ตกแต่งซ่อมแปลงขึ้นไว้ให้มั่นคงจงดี อย่าให้ชำรุดปรักหักพังอยู่แต่งสิ่งใดสิ่งหนึ่งได้
อนึ่งเมืองตรังเป็นเมืองล่อแหลมอยู่ฝ่ายทะเลตะวันตก จะไว้ใจมิได้ ให้พระยานครปรึกษาด้วยกรมการกะเกณฑ์หลวง ขุนหมื่น และชาวด่านคุมเรือ เรือไล่ สรรพไปด้วยปืนใหญ่น้อย กระสุนดินประสิว เครื่องศัสตราวุธออกไปอยู่พิทักษ์รักษาประจำคอด่านทั้งกลางวันกลางคืน ลาดตระเวนฟังข่าวราชการ หน้าด่านต่อแดนจงเนืองๆ อย่าให้อ้ายสลัดเหล่าร้ายและพม่ารามัญ เล็ดลอดจู่โจม เข้ามาจับเอาผู้คนไปได้เป็นอันขาดทีเดียว ถ้ามีราชการมาประการใด ให้ช่วยกันรบพุ่งต้านทาน เอาชนะไว้ให้จงได้ แล้วให้เร่งรีบบอกหนังสือเข้าไป ณ กรุง และหัวเมืองต่อกันโดยเร็ว อนึ่งปืนใหญ่น้อย กระสุนดินประสิว เป็นกระทู้ราชการ ให้พระยานครจัดแจง หาปืนใหญ่น้อยกระสุนดินประสิวขึ้นไว้สำหรับเมืองให้ได้จงมาก หากมีราชการมาประการใดจะได้เอาจ่ายรายการทันท่วงทีไม่ขัดสน แล้วให้ว่ากล่าวตักเตือนกรรมการ เจ้าพนักงาน ให้เอาปืนใหญ่น้อยออกขัดสีโซมน้ำมัน เอาดินประสิวออกตากแดดเนืองๆ อย่าให้ปืนเป็นสนิมคร่ำคร่าและดินอับราเสียไปได้ ปืนใหญ่นั้นให้มีรางล้อรางเกวียนใส่ และปืนน้อยนั้นให้มีบันไดแก้ววางจงทุกกระบอก อนึ่งเข้าเป็นกระทู้ราชการข้อใหญ่ถึงเทศกาลจะได้เรียกหางข้าว ค่านาแล้ว ให้พระยานครว่ากล่าวตักเตือนกรมการ เจ้าพนักงาน กับการรังวัดนา เรียกหางข้าวค่านาขึ้นใส่ยุ้งฉางไว้จงทุกปี ได้เป็นจำนวนข้าวค่านาปีละมากน้อยเท่าใดให้แจ้ง อนึ่งส่วยสาอากรซึ่งขึ้นท้องพระคลังหลวง บรรดามีอยู่ ณ เมืองนคร แขวงเมืองนครมากน้อยเท่าใด ถึงงวดปีแล้ว ก็ให้ว่ากล่าวตักเตือนเร่งรัดนายอากรและนายกอง นายหมวด ผู้คุมเลขค่าส่วย ให้คุมเอาส่วยสาอากร เข้าไปส่งแก่ชาวพระคลัง ณ กรุงให้ครบจงทุกงวดทุกปี อย่าให้ส่วยสาอากรของหลวงขาดค้างค่างวด ล่วงปีไปแต่จำนวนหนึ่งได้ อนึ่งถึงเทศกาลพระราชพิธีตรุษสารท ก็ให้พระยานครศรีธรรมราช พร้อมด้วยกรรมการ พระ หลวง ขุน หมื่น ส่วนซ่อง กองช้าง ตราภูมิ คุ้มห้าม กราบถวายบังคมรับพระราชทาน ถือน้ำพิพัฒน์สัจจาทุกปี อย่าให้ขาด ถ้าผู้ใดขาดมิได้ถือน้ำ ให้บอกส่งตัวผู้นั้นเข้าไปยัง ลูกขุน ณ ศาลา จะเอาตัวเป็นโทษ ตามบทอัยการ อนึ่งเมืองนครเป็นเมืองเอกถึงงวดปีแล้ว ให้จัดแจงดอกไม้ทองเงิน เครื่องราชบรรณาการ ส่งเข้าไปทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายปีละ ๒ งวด ตามบุราณราชประเพณีสืบมาแต่ก่อนจงทุกปีอย่าให้ขาด อนึ่งพระพุทธรูป พระสถูป พระเจดีย์ พระวิหาร การเปรียญ วัดวา อาราม ณ เมืองนครแขวงเมืองนครแห่งใด ชำรุดปรักหักพังเศร้าหมองอยู่ ก็ให้พระยานครศรีธรรมราช มีน้ำใจเลื่อมใสศรัทธา ในพระพุทธศาสนา ชักชวนกรรมการแลอาณาประชาราษฎรปฏิสังขรณ์ขึ้นให้รุ่งเรืองสุกใสถวายพระราชกุศลเข้าไป ณ กรุง อนึ่งดีบุก นอระมาด งาช้างเป็นสินค้าหลวง สำหรับจะได้ตอบแทนสลุบกำปั่นลูกค้านานาประเทศ ให้พระยานครศรีธรรมราช ขวนขวายจัดแจงหาดีบุก นอระมาด งาช้างส่งเข้าไปทูลเกล้า ทูลกระหม่อมถวายจงเนืองๆ จะได้เป็นความชอบสืบไป และให้พระยานครศรีธรรมราช ว่ากล่าวกำชับห้ามปรามแก่ เสมียน ทนาย สมัครสมานอาศัย พรรคพวกสมกำลัง ข้าทาส อย่าให้คบหากันสูบฝิ่น กินฝิ่น ซื้อฝิ่น ขายฝิ่น เป็นโจร ผู้ร้ายปล้นสะดม ฉก ลัก ช้าง ม้า โค กระบือ และกระทำข่มเหง ตัดพก ฉกชิง ฉ้อ กระบัด เอาพัสดุ ทอง เงิน เครื่องอัญมณี ของสมณะ ชีพราหมณ์ อาณาประชาราษฎร ไพร่บ้านพูลเมือง ลูกค้าวานิช ทางบก ทางเรือ ให้ผู้มีชื่อได้ความยากแค้นเดือดร้อน และอย่าให้คบหากันทำลายพระพุทธรูป พระสถูป เจดีย์ พระศรีมหาโพธิ์ พระอุโบสถ พระวิหาร การเปรียญ วัดวาอาราม ฆ่าช้างเอางา และขนาย ฆ่าสัตว์อันมีคุณ ตัดต้นไม้อันมีผล ลอบลักซื้อขายสิ่งของต้องห้าม และกระทำให้ผิดด้วยพระราชกำหนดกฎหมาย ห้ามปรามเก่าใหม่ แต่สิ่งใดสิ่งหนึ่งได้เป็นอันขาดทีเดียว ถ้าผู้ใดมิฟัง มีผู้ร้องฟ้องว่ากล่าวพิจารณาเป็นสัตย์ จะเอาตัวผู้กระทำผิด เป็นโทษตามโทษานุโทษ และกฎหมายสำหรับที่จะบังคับบัญชา ว่าราชการบ้านเมืองนั้น ได้ปิดตราคชสีห์ ส่งให้พระยานครใหม่ ออกมาด้วยแล้ว ครั้นลุสารตรานี้ไซร้ก็ให้กรรมการ ผู้อยู่ว่าราชการเมืองจัดแจง ตราจำนำและกฎหมาย สารบัญชี กระทงความเก่าใหม่ บโทนคนใช้ไร่นาส่วยสาอากร บรรดามีตามตำรา ๑๒ เดือน สำหรับผู้ครองเมืองนครสืบมาแต่ก่อนส่งให้แก่ พระบริรักษ์ภูเบศร์ ผู้เป็นพระยานครใหม่ ตามอย่างธรรมเนียม ให้พระยานครรับราชการ ตามตำแหน่งพนักงาน พระราชกำหนดกฎหมาย ขนบธรรมเนียม พิกัดอัตรา สืบมาแต่ก่อนให้ชอบด้วยราชการ อย่าให้เสียราชการแผ่นดินไป แต่สิ่งใดสิ่งหนึ่งได้ และให้กรมการ ผู้อยู่ว่าราชการเมือง กระทำตามท้องตรารับสั่งมานี้ทุกประการ
สารตรามา ณ วันพุธ เดือน ๙ แรม ๑๐ ค่ำ จุลศักราช ๑๑๗๓ (พ.ศ. ๒๓๕๔) ปีมะแม ตรีศก[1]
ผลงานอื่นๆ ของ ยอดภู ณ หัวทุ่ง ดูทั้งหมด
ผลงานอื่นๆ ของ ยอดภู ณ หัวทุ่ง
ความคิดเห็น